วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กติกาการเล่นตะกร้อ

   


    3. แต่ละเซ็ตสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้ 2 คน  ซึ่ง จากเดิมเราแทบจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนตัวระหว่างการเล่นเลย เมื่อมีกติกานี้ทำให้แต่ละทีมต้องพัฒนารูปแบบการเล่นให้หลากหลายทั้งเกมรับ และรุกเพื่อแก้เกมของคู่ต่อสู้




อย่าง ที่ทราบกันว่าผลงานของนักกีฬาเซปักตะกร้อบ้านเรานั้นนับได้ว่าประสบความ สำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 10 ปีหลังที่แทบจะไม่มีใครได้แหยมเราเลย แต่ก็เหมือน ดาบ 2 คม เพราะประเทศต่างๆก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากีฬาชนิดนี้เล่นยากระดับเทพ ครั้นจะไล่ฝีมือให้เทียบเท่าชาติเก๋าเกมอย่างไทย มาเลเซียหรือพม่าก็ยากเต็มที ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาวงการเซปักตะกร้อจึงได้ร่วมปรับเปลี่ยนกฏกติกามาอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการขยายความนิยมไปยังต่างชาติต่างทวีปทั้งยุโรปและ มหาอำนาจฝั่งอเมริกา

ไล่ เรียงมาจากการปรับวิธีการนับคะแนนให้เป็นระบบเรียลลี่พอยท์เซ็ตละ 21 คะแนน แต่ถึงกระนั้นเรื่องวัสดุของลูกเซปักตะกร้อก็โดนต่อว่าต่อขานไม่น้อย จนต้องมีการผลิตลูกเซปักตะกร้อชนิดใหม่ ซึ่งใช้พลาสติกที่นิ่มกว่าของเดิมและเพิ่มบุยางรอบลูกตะกร้อ ส่งผลให้ลูกตะกร้อนุ่มและหยืดหยุ่นน่าเล่นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอให้ประเทศต่างๆหันมาสนใจมากนัก   ล่าสุดสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ(ISTAF) ได้ปรับกติกาใหม่ ซึ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มโอกาสการชนะของชาติที่เป็นรอง การลดความได้เปรียบ-เสียเปรียบ และการทำให้เกมสนุกเร้าใจมากขึ้น ดังจะขอแจกแจง 3  กติกาข้อใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงดังนี้

1. หาผู้ชนะโดยใช้ ระบบการเล่น 3 ใน 5 เซ็ต เซ็ตละ 15 คะแนน มี เพดานแต่ละเซ็ตอยู่ที่  17 คะแนน จากเดิมที่เล่นแบบ 2 ใน 3 เซ็ต เซ็ตละ 21 คะแนน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้แต้มในแต่ละเซ็ตสั้นลง เพิ่มโอกาสการชนะให้ทีมที่เป็นรอง โดยเฉพาะฝั่งยุโรปที่เครื่องร้อนเร็วและถนัดในเกมสั้น
2. แต่ละทีมจะได้สิทธิ์เสิร์ฟลูกติดต่อกัน 3 แต้ม และ ผลัดกันเสิร์ฟจนจบเซ็ต กติกานี้จะลดความได้เปรียบของชาติที่มีตัวเสิร์ฟเก่งๆโดยเฉพาะทีมชาติไทย ซึ่งถ้าเป็นกติกาเดิมทีมใดมีตัวเสิร์ฟที่ดีก็อาจทำแต้มได้ 10 แต้มรวด ทั้งนี้ยังทำให้เกมสนุกขึ้นเพราะผู้ชมจะได้ดูทั้งการรุกและรับของแต่ละทีม ด้วย
  


3. แต่ละเซ็ตสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้ 2 คน  ซึ่ง จากเดิมเราแทบจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนตัวระหว่างการเล่นเลย เมื่อมีกติกานี้ทำให้แต่ละทีมต้องพัฒนารูปแบบการเล่นให้หลากหลายทั้งเกมรับ และรุกเพื่อแก้เกมของคู่ต่อสู้




การ เปลี่ยนแปลงกติกาครั้งนี้ได้ใช้ครั้งแรกในการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงถ้วยพระ ราชทานสมเด็จพระเทพฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและได้รับกระแสตอบรับที่ดีจาก นักกีฬาผู้ฝึกสอนและกองเชียร์ จึงได้สืบเนื่องมาที่รายการสำคัญอย่าง การแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก “ISTAF World Cup 2011” ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งทีมชาติไทยยังคงเป็น 1 ในวงการเซปักตะกร้อโลกทั้งทีมชายและหญิง และแน่นอนว่ากติกานี้จะถูกใช้ในทุกรายการทั้ง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และจะต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้นในกีฬาโอลิมปิคให้ได้ต่อไป





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น