วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานการเล่นตะกร้อ


การเล่นลูกตะกร้อด้วยหลังเท้า

     หลังเท้าเป็นอวัยวะที่สามารถบังคับทิศทางตะกร้อได้ยาก แต่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้เล่นที่สำคัญในตำแหน่งหน้าทำ ลูกตะกร้อหน้าตาข่าย และผู้เล่นตำแหน่งหลังที่เสิร์ฟด้วยเท้า

   วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ยื่นเท้าที่จะใช้แตะลูกตะกร้อออกมาด้านใน โดยลูกตะกร้อสูงพอประมาณและอยู่ด้านหน้าให้ลูกตะกร้อกระทบหลังเท้าบริเวณโคน นิ้ว และให้งุ้มปลายเท้าด้วยขณะแตะลูกตะกร้อ












     การเล่นลูกตะกร้อด้วยหน้าขา
     ส่วนมากใช้ในโอกาสตั้งลูกตะกร้อให้เพื่อนและเปิดลูกตะกร้อจาการเสิร์ฟ หน้าขาเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ในการใช้กระทบลูกตะกร้อมากที่สุดของอวัยวะที่ ใช้เล่นลูกตะกร้อ

วิธีปฏิบัติ

1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ได้เล่นลูกตะกร้อไปข้างหน้า และยกเท้าที่จะเล่นลูกตะกร้อที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวโดยใช้บริเวณหน้าขาเหนือ ประมาณ 1 ฝ่ามือ กระทบลูกตะกร้อ โดยใช้หน้าขากระทบลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมา ให้หัวเข่าทำมุมกับพื้นมากกว่า 45 องศา

                                      







การเล่นลูกตะกร้อด้วยศีรษะ
     ส่วนมากใช้ในโอกาสลูกตะกร้อลอยขึ้นมาเหนือศีรษะ

วิธีปฏิบัติ

1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม
2. ก้าวเท้าที่ไม่ถนัดเข้าหาลูกตะกร้อ ย่อเข่าเล็กน้อย เมื่อลูกลอยมาต่ำในระยะที่จะใช้ศีรษะเล่นได้ให้สปริงข้อเท้า เหยียดลำตัวและขาสองข้างขึ้นพร้อมกับยืดศีรษะไปกระทบลูกตะกร้อให้ลูกตะกร้อ กระทบกับศีรษะบริเวณตีนผมที่หน้าผาก















ประเด็นคำถาม

1. ทักษะการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะเป็นอย่างไร
2. การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะมีความสำคัญอย่างไร 

กิจกรรมเสนอเสนอแนะ
1.ก่อนการเล่นควร Warm  Up ทุกครั้ง และหลังการเล่นต้อง Cool Down
2.ศึกษาเพิ่มเติมและติดตามการแข่งขันกีฬาตะกร้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นตะกร้อ

การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกี่ยวกับ การเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ
2.สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา เกี่ยวกับ การวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ แรงและการเคลื่อนไหว ในการเล่นตะกร้อด้วยหลังเท้า หน้าขา และศีรษะ







แหล่งที่มาของข้อมูลที่มา:  http://www.takraw.or.th/th/show_news.







 http://www.youtube.com/watch?v=szWTpfGCQg8
         

ประวัติส่วนตัว



นาย     โยฮัน   จูเปาะ

รหัสนักศึกษา      55222374

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เบอร์โทร    0808602947

Email Yohacm@gmail.com


ประวัติตะกร้อไทย

ตะกร้อ
ตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศ อื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช้หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
การ เตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง

ประวัติ

ใน การค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
  • พม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น มีการเล่นตะกร้อในช่วงพัก ซึ่งพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
  • ทางมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า เซปะก์รากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
  • ทางฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกของตนว่า ซิปะก์
  • ทางประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อแต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านทางภาพเขียนและพงศาวดารจีน
  • ทางประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนักปักขนไก่
  • ประเทศไทยมีความนิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาว นาน และ สามารถประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้าน ทักษะและความคิด
การ เล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบ ในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก)


เซปักตะกร้อ


การ แข่งขันตะกร้อในระดับนานาชาติ เรียกเกมกีฬาชนิดนี้ว่าเซปักตะกร้อ โดยเป็นการแข่งขันของผู้เล่น 2 ทีม ทำการโต้ตะกร้อข้ามตาข่ายเพื่อให้ลงในแดนของคู่ต่อสู้ สามารถแบ่งแยกย่อยเป็น 2 ประเภทคือ "เรกู" หรือทีม 3 คน และ "ดับเบิ้ล เรกู" หรือก็คือ ตะกร้อคู่ (คำว่า เรกู เป็นภาษามลายู แปลว่าทีม)

[แก้]สนามแข่งขัน


ความ กว้างของเส้นขอบทั้งหมดวัดจากด้านนอกเข้ามาไม่เกิน 4 เซนติเมตร ส่วนเส้นแบ่งแดนความกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยลากเส้นแบ่งแดนทั้ง 2 ข้างออกตามแนวขวาง แนวเส้นทับพื้นที่ของแต่ละแดนเท่าๆกัน เส้นขอบทั้งหมดนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแดนสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย
สนาม แข่งขันเซปักตะกร้อ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 เท่าของสนามแบดมินตัน มีความยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เพดานหรือสิ่งกีดขวางอื่นใด ต้องอยู่สูงกว่าสนามไม่น้อยกว่า 8 เมตร จากพื้นสนาม (ไม่เป็นพื้นหญ้า หรือพื้นทราย) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอื่นใดในระยะ 3 เมตรจากขอบสนามโดยรอบ
ปลาย ของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นดังกล่าวมีรัศมี 90 เซนติเมตร กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก
ใน แดนทั้งสอง มีวงกลมซึ่งกำหนดเป็นจุดยืนสำหรับผู้ส่งลูก โดยเส้นที่วาดวงกลมขอบในมีรัศมี 30 เซนติเมตร ความกว้างของเส้นคือ 4 เซนติเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ทีระยะ 2.45 เมตร จากเส้นหลังของแต่ละแดน และอยู่กึ่งกลางตามแนวกว้างของสนาม

ตาข่าย

ตาข่าย จะถูกขึงกั้นแบ่งแดนทั้งสองออกจากกัน ทำจากวัสดุจำพวกเชือกหรือไนลอน ความสูงของตาข่ายบริเวณกึ่งกลาง คือ 1.52 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.42 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ส่วนความสูงบริเวณเสายึดตาข่าย คือ 1.55 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.45 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง)
ตาข่ายมีขนาดรู 6 - 8 เซนติเมตร ผืนตาข่ายมีความกว้าง 70 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร




ลักษณะการเล่นรูปแบบอื่น



การเล่นตะกร้อยังสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
  • การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อม เป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
  • การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) การ เล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
  • ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติด บ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ



ท่าเตะ

ท่า เตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่นักเล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา (เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)





www.google.co.th





กติกาการเล่นตะกร้อ

   


    3. แต่ละเซ็ตสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้ 2 คน  ซึ่ง จากเดิมเราแทบจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนตัวระหว่างการเล่นเลย เมื่อมีกติกานี้ทำให้แต่ละทีมต้องพัฒนารูปแบบการเล่นให้หลากหลายทั้งเกมรับ และรุกเพื่อแก้เกมของคู่ต่อสู้




อย่าง ที่ทราบกันว่าผลงานของนักกีฬาเซปักตะกร้อบ้านเรานั้นนับได้ว่าประสบความ สำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 10 ปีหลังที่แทบจะไม่มีใครได้แหยมเราเลย แต่ก็เหมือน ดาบ 2 คม เพราะประเทศต่างๆก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากีฬาชนิดนี้เล่นยากระดับเทพ ครั้นจะไล่ฝีมือให้เทียบเท่าชาติเก๋าเกมอย่างไทย มาเลเซียหรือพม่าก็ยากเต็มที ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาวงการเซปักตะกร้อจึงได้ร่วมปรับเปลี่ยนกฏกติกามาอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการขยายความนิยมไปยังต่างชาติต่างทวีปทั้งยุโรปและ มหาอำนาจฝั่งอเมริกา

ไล่ เรียงมาจากการปรับวิธีการนับคะแนนให้เป็นระบบเรียลลี่พอยท์เซ็ตละ 21 คะแนน แต่ถึงกระนั้นเรื่องวัสดุของลูกเซปักตะกร้อก็โดนต่อว่าต่อขานไม่น้อย จนต้องมีการผลิตลูกเซปักตะกร้อชนิดใหม่ ซึ่งใช้พลาสติกที่นิ่มกว่าของเดิมและเพิ่มบุยางรอบลูกตะกร้อ ส่งผลให้ลูกตะกร้อนุ่มและหยืดหยุ่นน่าเล่นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอให้ประเทศต่างๆหันมาสนใจมากนัก   ล่าสุดสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ(ISTAF) ได้ปรับกติกาใหม่ ซึ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มโอกาสการชนะของชาติที่เป็นรอง การลดความได้เปรียบ-เสียเปรียบ และการทำให้เกมสนุกเร้าใจมากขึ้น ดังจะขอแจกแจง 3  กติกาข้อใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงดังนี้

1. หาผู้ชนะโดยใช้ ระบบการเล่น 3 ใน 5 เซ็ต เซ็ตละ 15 คะแนน มี เพดานแต่ละเซ็ตอยู่ที่  17 คะแนน จากเดิมที่เล่นแบบ 2 ใน 3 เซ็ต เซ็ตละ 21 คะแนน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้แต้มในแต่ละเซ็ตสั้นลง เพิ่มโอกาสการชนะให้ทีมที่เป็นรอง โดยเฉพาะฝั่งยุโรปที่เครื่องร้อนเร็วและถนัดในเกมสั้น
2. แต่ละทีมจะได้สิทธิ์เสิร์ฟลูกติดต่อกัน 3 แต้ม และ ผลัดกันเสิร์ฟจนจบเซ็ต กติกานี้จะลดความได้เปรียบของชาติที่มีตัวเสิร์ฟเก่งๆโดยเฉพาะทีมชาติไทย ซึ่งถ้าเป็นกติกาเดิมทีมใดมีตัวเสิร์ฟที่ดีก็อาจทำแต้มได้ 10 แต้มรวด ทั้งนี้ยังทำให้เกมสนุกขึ้นเพราะผู้ชมจะได้ดูทั้งการรุกและรับของแต่ละทีม ด้วย
  


3. แต่ละเซ็ตสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้ 2 คน  ซึ่ง จากเดิมเราแทบจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนตัวระหว่างการเล่นเลย เมื่อมีกติกานี้ทำให้แต่ละทีมต้องพัฒนารูปแบบการเล่นให้หลากหลายทั้งเกมรับ และรุกเพื่อแก้เกมของคู่ต่อสู้




การ เปลี่ยนแปลงกติกาครั้งนี้ได้ใช้ครั้งแรกในการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงถ้วยพระ ราชทานสมเด็จพระเทพฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและได้รับกระแสตอบรับที่ดีจาก นักกีฬาผู้ฝึกสอนและกองเชียร์ จึงได้สืบเนื่องมาที่รายการสำคัญอย่าง การแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก “ISTAF World Cup 2011” ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งทีมชาติไทยยังคงเป็น 1 ในวงการเซปักตะกร้อโลกทั้งทีมชายและหญิง และแน่นอนว่ากติกานี้จะถูกใช้ในทุกรายการทั้ง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และจะต้องมีการผลักดันให้เกิดขึ้นในกีฬาโอลิมปิคให้ได้ต่อไป





นักตะกร้อทีมชาติไทย


2. ความสามารถ


ทีมหญิง                                                                                                ทีมชาย
1. ..ฐิติมา มหากุศล                                                                            1. นายอนุวัฒน์ ชัยชนะ
2. ..สุนทรี รูปสูง                                                                                  2. นายศิริวัฒน์ สาขา
3. ..ดารณี วงษ์เจริญ                                                                          3. นายกฤษณะ ธนะกรณ์
4. ..แก้วใจ พุ่มสว่างแก้ว                                                                      4. นายเกรียงไกร แก้วเมียน
5. ..พยอม ศรีหงษา                                                                             5. นายพรชัย เค้าแก้ว
6. ..จริยา สีสวาท                                                                                6. นายอัษดิน วงศ์โยธา
7. ..เฟื่องฟ้า ประพัศรางค์                                                                     7. นายภัทรพงษ์ ยุพดี
8. ..ศศิวิมล จันทสิทธิ์                                                                           8. นายวีระวุฒิ ณ หนองคาย
9. ..อุษา นามแพง                                                                                9. นายสมพร ใจสิงหล
10. ..วันวิสาข์ จันทร์แก่น                                                                      10. นายสุริยัน เป๊ะชาญ
11. ..อรทัย บัวศรี                                                                                 11. นายศุภชัย มณีนาถ
12. ..ลำปาง แก้วนพรัตน์                                                                       12. นายรณรงค์ เจนชัยภูมิ
สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
.....................
เกณฑ์การพิจารณานักกีฬาดีเด่น
การแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ และกีฬาตะกร้อลอดห่วง
กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 ปี 2555
ณ จังหวัดเชียงใหม่
***************
1. ความประพฤติ อุปนิสัยดี
ตรงต่อเวลา
ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด
เซปักตะกร้อ – การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ความสามารถเฉพาะตัว
ความสามารถเล่นเป็นทีม
ผลการแข่งขัน
ตะกร้อลอดห่วง ความสามารถเฉพาะตัว
ทำคะแนนสูงสุด
3. ผู้ที่จะได้รับรางวัล
3.1 นักกีฬาเซปักตะกร้อชายดีเด่น คน
3.2 นักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงดีเด่น คน
3.3 นักกีฬาตะกร้อลอดห่วงชายดีเด่น คน
3.4 นักกีฬาตะกร้อลอดห่วงสากลหญิงดีเด่น คน
3.5 ผู้ฝึกสอนประเภทละ คน รวม ดีเด่น คน 
www.google.co.th/






 

http://www.youtube.com/watch?v=YpL_ZZpFSZM